ข่าวบ้านผือวันนี้ "ร้านตัดผ้าวราภรณ์ รับตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี ชุดแบบฟอร์ม ชุดทำงาน ชุดไทย และจำหน่ายอุปกรณ์ประเภท ซิบ กระดุม ด้าย อื่นๆอีกมากมาย ยังจำหน่าย กรอบรูป ขายปลีกและส่งและยังบริการรับถ่ายรูปด่วน ขยายรูป ล้างรูป รับทำนามบัตร เคลือบบัตร ปริ้นงาน เข้าเล่ม สันเกียว สันกาว ถ่ายเอกสาร สีและขาวดำ ขนาดไซต์กระดาษตั้ง แต่ A4-F14-B4-A3 และยังบริการ ย่อ ขยายเอกสารฯลฯรับถ่ายทำ วีดีโอ ในและนอกสถานที่ราคาเป็นกันเอง ร้านตัดผ้าวราภรณ์อยู่ตรงข้าม โรงเรียนอนุบาลบ้านผือพิทยาภูมิถนนชนบทบำรุงอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ร้านตัดผ้าวราภรณ์ เปิด ปิดเวลา 06.00-18.00น. ทางร้านเปิดให้บริการทุกวัน ติดต่ดสอบถามโทร 0806299771 email hs3ghd15.s@gmail.comแฟกช์ 042282304.

ศรีสุวรรณ จรรยา กับ ‘ความรุนแรงที่มองไม่เห็น’ และไม่ควรถูกมองข้าม

  •  

  • กรณีของ ศรีสุวรรณ จรรยา เราอาจมองเห็นความรุนแรงสองรูปแบบ คือ ความรุนแรงทางตรง หรือการใช้กำลังทำร้ายร่างกาย และความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่มาจากการบังคับใช้กฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  • ในรัฐที่มีลักษณะเป็นเผด็จการหรืออำนาจนิยม การทำนิติสงคราม หรือความรุนแรงเชิงโครงสร้าง สามารถพบได้โดยง่าย เนื่องจากระบบกฎหมายเป็นเรื่องของอำนาจ ไม่ใช่การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  • ความน่ากลัวของ ‘นิติสงคราม’ คือการที่ประชาชนไม่ตั้งคำถามกับความรุนแรง เพราะเห็นว่าเป็นการกระทำในนามของกระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย จนทำให้ความรุนแรงยังคงดำรงอยู่


จากกรณี ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ถูกทำร้ายร่างกายขณะเดินทางมาร้องเรียนกับตำรวจเพื่อเอาผิดการแสดง ‘เดี่ยว 13’ ของ โน้ต-อุดม แต้พานิช นักแสดงและนักพูดชื่อดัง ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลระหว่างการแสดง ได้นำไปสู่บทสนทนาในสังคมเกี่ยวกับ ‘ความรุนแรง’ มากขึ้น

แต่การถกเถียงเรื่องความรุนแรงครั้งนี้ยังค่อนข้างจำกัดอยู่ที่เหตุการณ์การทำร้ายร่างกาย ศรีสุวรรณ จรรยา ซึ่งเป็น ‘ความรุนแรงทางตรง’ ที่เห็นได้ชัดเจน ขณะที่ความรุนแรงอีกประเภทหนึ่งซึ่งซ้อนทับอยู่ในเหตุการณ์เดียวกัน กลับไม่ค่อยมีคนพูดถึงมากนัก คือ ‘ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง’ หรือความรุนแรงที่อยู่เบื้องหลังการร้องเรียนของ ศรีสุวรรณ จรรยา

 

ทฤษฎีสามเหลี่ยมความรุนแรงของ โยฮัน กัลตุง

โยฮัน กัลตุง (Johan Galtung) นักคิดคนสำคัญด้านสันติวิธี ให้คำอธิบายเกี่ยวกับความรุนแรงไว้ว่า มีสามประเภทเปรียบเสมือนรูปสามเหลี่ยม ได้แก่ ความรุนแรงทางตรง (direct violence) ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (structural violence) และความรุนแรงทางวัฒนธรรม (cultural violence) 

โยฮัน กัลตุง

 

โยฮัน ระบุด้วยว่า ในสามเหลี่ยมความรุนแรงยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกสองส่วน คือ ความรุนแรงที่สามารถมองเห็นได้ (visible) กับความรุนแรงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ (invisible) โดยความรุนแรงที่สามารถมองเห็นได้ หรือความรุนแรงทางตรง กล่าวคือ เป็นความรุนแรงที่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นผู้กระทำความรุนแรง ใครเป็นเหยื่อ ซึ่งความรุนแรงประเด็นนี้มักจะเป็นความรุนแรงทางกายภาพ เช่น การทำร้ายร่างกาย การทำร้ายทรัพย์สิน หรือการทำร้ายจิตใจ เป็นต้น 

ขณะที่ความรุนแรงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ประกอบไปด้วยความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ทั้งความรุนแรงที่เกิดจากโครงสร้างทางสังคมหรือระบบเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม เป็นสภาวะที่ผู้มีอำนาจพยายามรักษาสถานะเหนือกว่าเพื่อให้สามารถขูดรีดหรือเอาเปรียบคนอื่นต่อไปได้ หรือการสร้างอุปสรรคขัดขวางการเคลื่อนไหว การกดทับผู้ถูกกดขี่ไม่ให้ลุกขึ้นต่อต้าน การใช้กฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรมเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น การออกคำสั่งห้ามชุมนุมทางการเมือง เป็นต้น

ส่วนความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมก็เป็นความรุนแรงที่ไม่สามารถมองเห็นได้อีกเช่นเดียวกัน เป็นความรุนแรงในรูปแบบของความเชื่อ คุณค่า วัฒนธรรม องค์ความรู้ หรือ อุดมการณ์ทางการเมือง ซึ่งนำไปสู่การใช้ความรุนแรงทางตรงและความรุนแรงเชิงโครงสร้าง เช่น ค่านิยมงานบ้านเป็นของผู้หญิง ซึ่งผลักภาระให้ผู้หญิงต้องถูกขูดรีดแรงงานจากผู้ชายด้วยการทำงานดูแลความสะอาดบ้านแต่เพียงลำพังและไม่ได้รับค่าตอบแทนด้วยความเชื่อว่ามันเป็นงานของผู้หญิง เป็นต้น

 

‘นิติสงคราม’ ความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ถูกมองข้าม 

จากแนวคิดสามเหลี่ยมความรุนแรงของ โยฮัน กัลตุง เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับกรณีการทำร้ายร่างกาย ศรีสุวรรณ จรรยา จะพบว่า มีความรุนแรงอยู่อย่างน้อยสองรูปแบบในเหตุการณ์เดียวกัน ความรุนแรงแบบแรก คือ ความรุนแรงทางตรง หรือการใช้กำลังทำร้ายร่างกายศรีสุวรรณ จรรยา แต่ความรุนแรงอีกรูปแบบหนึ่งที่คนมองข้าม คือ ความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่มาจากการบังคับใช้กฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยมีศรีสุวรรณเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการดังกล่าว

ก่อนหน้านี้ที่ ศรีสุวรรณ จรรยา จะถูกทำร้ายร่างกาย เขากำลังแถลงข่าวเรื่องการเข้าร้องเรียนกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เพื่อเอาผิดกับการแสดง ‘เดี่ยว 13’ เนื่องจาก โน้ต-อุดม แต้พานิช ได้กล่าวบนเวทีการแสดงว่า 

 “วันนี้รถติดเยอะหน่อย มีม็อบไล่คนที่เราอยากจะไล่เขา ก็ให้อภัยเขาไปนะครับ ถือว่าเขาทำงานแทนเรา” 

เป็นการส่งเสริมให้บุคคลร่วมชุมนุมสาธารณะที่ผิดกฎหมาย อาจขัดต่อความมั่นคงของรัฐหรือละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น และหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

ทั้งนี้ ถ้าดูจากคำพูดที่ ศรีสุวรรณ จรรยา กล่าวหา จะพบว่า คำพูดข้างต้นเป็นการแสดงความคิดเห็นต่อการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนหรือ ‘เสรีภาพในการชุมนุม’ ซึ่งเป็นเสรีภาพที่ต้องได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ อีกทั้งประโยคข้างต้นไม่ได้มีการยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนไปก่อเหตุอันตรายร้ายแรง ดังนั้น การพูดบนเวทีของ โน้ต-อุดม จึงไม่เข้าข่ายเป็นการกระทำที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด 

ในทางตรงกันข้าม การร้องเรียนให้เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการเอาผิดกับการแสดงความคิดเห็นของประชาชนที่เห็นด้วยกับการชุมนุมประท้วงรัฐบาล กลับเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น และเป็นการสนับสนุนให้ความรุนแรงเชิงโครงสร้างยังดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง ผ่านกระบวนการบังคับใช้กฎหมายหรือกระบวนการยุติธรรมเพื่อกดปราบการแสดงออกหรือการแสดงความคิดเห็นของประชาชน

ปิยบุตร แสงกนกกุล อดีตอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเลขาธิการคณะก้าวหน้า เรียกความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่เกิดจากกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมว่า ‘นิติสงคราม’ (Lawfare) ที่หมายถึงการที่รัฐนำกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมาทำสงครามกับประชาชน หรือใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายประชาชนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างจากรัฐ 

ทั้งนี้ ในรัฐที่มีลักษณะเป็นเผด็จการหรืออำนาจนิยม การทำนิติสงคราม หรือความรุนแรงเชิงโครงสร้าง สามารถพบได้โดยง่าย เนื่องจากระบบกฎหมายเป็นเรื่องของอำนาจ ไม่ใช่การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และกฎหมายรวมถึงกระบวนการยุติธรรมมีหน้าที่ในการทำให้ผู้มีอำนาจบรรลุเป้าหมายทางการเมือง หรือเพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการเมือง

และความน่ากลัวของสิ่งที่เรียกว่า นิติสงคราม คือการที่ประชาชนไม่ตั้งคำถามกับความรุนแรงในลักษณะดังกล่าว เพราะเห็นว่าเป็นการกระทำในนามของกระบวนการยุติธรรมและกฎหมาย จนทำให้ความรุนแรงยังคงดำรงอยู่ในสังคม


วงจรอุบาทว์ของความรุนแรงที่มองเห็นและมองไม่เห็น

แม้ว่า โยฮัน กัลตุง จะแยกลักษณะของความรุนแรงออกเป็นสามแบบ แต่ความรุนแรงทั้งสามแบบก็ทำงานร่วมกันเป็นวงจร 

เมื่อมีความรุนแรงเชิงโครงสร้าง หรือการที่ผู้มีอำนาจไม่มีกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลก็จะนำมาสู่การใช้ความรุนแรงทางตรง เช่น การออกคำสั่งให้จับกุมตัวคนเห็นต่าง การออกคำสั่งให้สังหารคนเห็นต่าง หรือฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ในรัฐที่มีลักษณะเป็นเผด็จการ การที่มีความรุนแรงเชิงโครงสร้างกดทับผู้คนเอาไว้ก็อาจจะนำไปสู่ความไม่พอใจของประชาชน จนอาจนำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงทางตรง เช่น การชุมนุมประท้วงที่มีการทำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐ การทำร้ายทรัพย์สินสาธารณะ

กรณีการทำร้ายร่างกาย ศรีสุวรรณ จรรยา เป็นตัวอย่างที่ดีของการอธิบายว่า ความรุนแรงทางตรงมีอิทธิพลมาจากความรุนแรงเชิงโครงสร้างอย่างไร จะเห็นได้ว่า วีรวิชญ์ รุ่งเรืองศิริผล ชายวัย 62 ปี เจ้าของยูทูบ ‘ศักดินาเสื้อแดง’ ซึ่งเป็นผู้ก่อเหตุได้ให้เหตุผลของการเข้าทำร้ายร่างกายศรีสุวรรณว่า เป็นความไม่พอใจกับการกระทำของศรีสุวรรณที่ชอบร้องเรียนเพื่อเอาผิดกับประชาชนหรือนักการเมืองที่มีจุดยืนสนับสนุนระบอบประชาธิปไตย และเขาไม่พอใจระบบยุติธรรมของไทยที่อ้างกฎหมายเพื่อกลั่นแกล้งประชาชน ดังนั้น เขาต้องใช้วิชา ‘สถุน’ ตามที่เขาเรียก เพื่อสั่งสอนคนอย่าง ศรีสุวรรณ จรรยา

อย่างไรก็ดี บทความนี้ไม่ได้สนับสนุนหรือหาเหตุผลเพิ่มความชอบธรรมให้กับการใช้ความรุนแรงกับคนที่เห็นต่าง เพียงแต่อยากถอดให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงทางตรงและความรุนแรงเชิงโครงสร้างที่ทำงานร่วมกันเป็นวงจรอุบาทว์ และที่ผ่านมา สังคมไทยก็มีเหตุความรุนแรงทั้งทางตรงและเชิงโครงสร้างมาโดยตลอด ดังนั้น การจะใช้ความรุนแรงทางตรงจึงไม่ใช่แค่การเรียกร้องให้คนยุติความรุนแรง แต่เป็นการลงมือจัดการกับมูลเหตุความรุนแรง โดยเฉพาะความรุนแรงเชิงโครงสร้าง รวมถึงต้องถอดรื้อความเชื่อ คุณค่า วัฒนธรรม ที่นำไปสู่การค้ำจุนความรุนแรงเชิงโครงสร้างและความรุนแรงทางตรงเอาไว้ มิเช่นนั้น สังคมไทยจะไม่มีวันหลุดออกจากวงจรอุบาทว์ของความรุนแรง

 >{Fullwidth}

แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า

สื่อโฆษณา

ไทยบ้านผือนิวส์
"ร้านตัดผ้าวราภรณ์ รับตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี ชุดแบบฟอร์ม ชุดทำงาน ชุดไทย และจำหน่ายอุปกรณ์ประเภท ซิบ กระดุม ด้าย อื่นๆอีกมากมาย ยังจำหน่าย กรอบรูป ขายปลีกและส่งและยังบริการรับถ่ายรูปด่วน ขยายรูป ล้างรูป รับทำนามบัตร เคลือบบัตร ปริ้นงาน เข้าเล่ม สันเกียว สันกาว ถ่ายเอกสาร สีและขาวดำ ขนาดไซต์กระดาษตั้ง แต่ A4-F14-B4-A3 และยังบริการ ย่อ ขยายเอกสารฯลฯรับถ่ายทำ วีดีโอ ในและนอกสถานที่ราคาเป็นกันเอง ร้านตัดผ้าวราภรณ์อยู่ตรงข้าม โรงเรียนอนุบาลบ้านผือพิทยาภูมิถนนชนบทบำรุงอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ร้านตัดผ้าวราภรณ์ เปิด ปิดเวลา 06.00-18.00น. ทางร้านเปิดให้บริการทุกวัน ติดต่ดสอบถามโทร 0806299771-สนใตลงสื่อโฆษณา0612301227 email hs3ghd15.s@gmail.comแฟกช์ 042282304.